ผู้ว่าฯกาฬสินธุ์ ประชุมด่วนคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนศาสตร์ชาติระยะที่ 3 งบประมาณ 898,730,600 ลบ. |
![]() |
![]() |
![]() |
พฤหัสบดี, 18 พฤษภาคม 2017 | |
ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ประชุมด่วนคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนศาสตร์ชาติระยะที่ 3 พร้อมเชิญองค์กรอิสระร่วมตรวจสอบโครงการงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมปี 2560 วันพุธที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เวลา 13.30 น. ที่ห้องประชุม 4/1 ศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์ นายสุวิทย์ คำดี ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ประธานประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตจังหวัดกาฬสินธุ์ พร้อมด้วยนายวิศิษฐ คูรัตนเวช ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทยเขต 10 และเขต 12 นายจักรกฤช ตันเลิศ ผอ.ปปช.ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ นางเรณู เงี้ยบงามศรี ผอ.สตง.กส. นายณัฐพงษ์ พาสิงห์ ผู้แทน ปปท.พื้นที่เขต 4 ขอนแก่น เพื่อร่วมกันตรวจสอบ ติดตาม และให้คำแนะนำในการดำเนินงานของหน่วยงานที่ได้รับงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ปี 2560 ตามแนวทางที่ มท. ปปช. ปปท. และสตง. ในคราวประชุม VCS เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2560 นายสุวิทย์ คำดี ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้จะมุ่งที่จะให้ทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็น ภาคราชการ เอกชน องค์กรอิสระได้ร่วมกันวิเคราะห์ความเสี่ยงความคุ้มค่าของการดำเนินโครงการงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมปี 2560 ซึ่งจังหวัดกาฬสินธุ์ได้รับมา จำนวน 5 โครงการ งบประมาณ 898,730,600.- ประกอบด้วย 1. โครงการพัฒนาคุณภาพการผลิตและเพิ่มมูลค่าผลผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพสูงครบวงจร งบประมาณ 594,297,900 บาท เจ้าภาพหลัก สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด 2. โครงการยกระดับการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดครบวงจร งบประมาณ 104,391,900 บาท เจ้าภาพหลัก 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย 1) อำเภอสหัสขันธ์ 2) สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด 3) แขวงทางหลวงกาฬสินธุ์ และ4) สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด 3. โครงการยกระดับผ้าไหมกลุ่มจังหวัดสู่การเป็นศูนย์กลางออกเบบผลิตภัณฑ์จากไหมในภูมิภาค งบประมาณ 66,282,600 บาท เจ้าภาพหลัก สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด 4. โครงการพัฒนาอาหารเกษตรปลอดภัย งบประมาณ 120,362,000 บาท เจ้าภาพหลัก สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด 5. โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง งบประมาณ 13,396,200 บาท เจ้าภาพหลัก สำนักงานเกษตรจังหวัด โดยให้หน่วยงานที่ได้รับงบประมาณ นำเสนอโครงการหรือกิจกรรมเพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยง ดังนี้ 1. จัดทำขั้นตอนการดำเนินงาน ( Flowchart ) อย่างเป็นระบบ รวมถึงกระบวนการ/กรอบระยะเวลาดำเนินการทางพัสดุ (แผนการจัดซื้อจัดจ้าง) 2. จัดทำแผนการใช้จ่ายงบประมาณ 3. ให้มีการประเมินและวิเคราะห์โครงการ ดังนี้ 1) โครงการมีคุณค่า คุณประโยชน์ ความคุ้มทุน ความเหมาะสม และเป็นความต้องการของประชาชนในพื้นที่ด้วยหรือไม่ รวมถึงสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างไร 2) โครงการมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจนอย่างไร และประชาชนในพื้นที่ได้อะไร 3) โครงการสามารถดำเนินการได้ทันที และสามารถปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ หรือไม่ อย่างไร 4) โครงการมีผลผลิต (output) ที่เกิดขึ้นทันทีหรือโดยตรงจากการดำเนินโครงการ หรือกิจกรรมเสร็จสิ้น อย่างไร 5 โครงการมีผลกระทบ (impact) ที่เกิดต่อเนื่องมาจากผลผลิตรวมถึงผลกระทบเกิดขึ้นระหว่างดำเนินการ มีอะไรบ้างและมีวิธีการแก้ไขหรือไม่ อย่างไร 6) โครงการมีผลลัพธ์ (outcome) ในระยะยาวซึ่งเกิดเป็นผลจุดหมายปลายทางหรือผลต่อเนื่องจากผลกระทบ อะไรบ้าง 7) โครงการมีหรืออาจมีความซ้ำซ้อนกับแผนงานโครงการของส่วนราชการ หรือส่วนราชการอื่นที่ได้รับงบประมาณจากส่วนกลาง (งบประมาณฟังก์ชั่น) หรือไม่ 8) โครงการมีความสอดสอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงานหรือไม่ อย่างไร 9) ให้มีการทบทวนราคากลางให้เป็นปัจจุบัน 10) ปัญหาและอุปสรรค ข้อเสนอแนะ และแนวทางแก้ไขปัญหา ซึ่งที่ประชุมได้ร่วมพิจารณาและวิเคราะห์ความเสี่ยงของโครงการแต่ละโครงการ โดยเฉพาะโครงการหรือกิจกรรมที่ไม่ใช่ภารกิจหลักของหน่วยดำเนินการ รวมทั้ง งบประมาณที่ใช้ในการฝึกอบรมของแต่ละโครงการที่มีกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าอบรมกลุ่มเดิมๆ ทั้งนี้ ขอให้หน่วยงานที่เห็นว่าโครงการหรือกิจกรรมมีความเสี่ยงสูงซ้ำซ้อน ไม่เกิดประโยชน์ต่อประชาชน รวมถึงโครงการที่ไม่ใช่ความต้องการของประชาชนในพื้นที่ และได้กำชับให้ส่วนราชการที่ได้รับงบประมาณทบทวนการดำเนินโครงการ พร้อมกำชับส่วนราชการที่ได้รับงบประมาณดำเนินการให้เป็นไปด้วยความโปร่งใสทุกขั้นตอนตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ได้มอบอำนาจไป และหากประชาชนเห็นว่าการดำเนินโครงการใดส่อเค้าจะเป็นไปโดยไม่ชอบสามารถที่จะร้องเรียนมาที่ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ หรือองค์กรตรวจสอบได้ |
< ก่อนหน้า | ถัดไป > |
---|