• อาทิตย์. เม.ย. 28th, 2024

กาฬสินธุ์ เตรียมวิจัยพัฒนาสินค้าท่องเที่ยว Kalasin Geopark แบรนด์ Dino Products ชูภาพลักษณ์ Minimocursor ไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ของโลก อายุ 150 ล้านปี เป็น Signature Jurassic Park of Thailand

วันที่ 19 กันยายน 2566 จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้จัดทำ ร่าง แบบการ์ตูนไดโนเสาร์มินิโมเคอร์เซอร์(Minimocursor Phunoiensis) ไดโนเสาร์กินพืชสายพันธุ์ใหม่ของโลก ค้นพบที่ภูน้อย ต.ดินจี่ อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์ และเป็นสายพันธุ์ไทยลำดับที่ 13 วัตถุประสงค์เพื่อการวิจัยพัฒนาสินค้าท่องเที่ยว Kalasin Geopark แบรนด์ Dino Products ชูภาพลักษณ์ Minimocursor ไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ของโลก ยุต Jurassic ตอนปลาย อายุ 150 ล้านปี และส่งเสริมพัฒนาให้จังหวัดกาฬสินธุ์เป็น Signature Jurassic Park of Thailand


ดร.นิรุจน์ อุทธา หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า ตามที่ กรมทรัพยากรธรณี และพิพิธภัณฑ์สิรินธร ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้แถลงข่าวการค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่ของโลก “มินิโมเคอร์เซอร์ ภูน้อยเอนซิส” (Minimocursor phunoiensis) ไดโนเสาร์ตัวที่ 13 ของประเทศไทย อายุ 150 ล้านปี เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมานั้น จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยหน่วยงานทุกภาคส่วน มีนโยบายส่งเสริมพัฒนาให้ Minimocursor เป็นสัญลักษณ์การท่องเที่ยวกาฬสินธุ์ตำนานเมืองไดโนเสาร์โลก โดยเฉพาะการวิจัยพัฒนาสร้างแบรนด์สินค้าท่องเที่ยว Dinosaur Products ในพื้นที่ Kalasin Geopark เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรจากการค้นพบฟอสซิลบรรพชีวินในยุคจูราสสิกตอนปลาย ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มีอายุ 150 ล้านปี ทั้งนี้ เพื่อการขับเคลื่อนสร้างภาพลักษณ์การท่องเที่ยวให้กาฬสินธุ์ เป็นเมืองจูราสสิกพาร์คของประเทศไทย (Kalasin Jurassic Park of Thailand) โดยชูไดโนเสาร์พันธุ์มินิโนเคอร์เซอร์ เป็น Signature ของจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นไดโนเสาร์ที่มีอัตลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างจากการค้นพบไดโนเสาร์ของจังหวัดอื่นๆ ประกอบกับ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ส่งเสริมสนับสนุนสินค้าผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวตำนานเมืองไดโนเสาร์โลก Kalasin Geopark เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์การเกษตรมูลค่าสูง เพิ่มรายได้ให้เกษตรกรในพื้นที่ Kalasin Geopark จึงได้ทดลองออกแบบ ร่าง “ภาพการ์ตูนไดโนเสาร์มินิโมเคอร์เซอร์” เพื่อนำไปวิจัยพัฒนาเป็นภาพลายในสินค้าในผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยว Kalasin Geopark ประเภทต่างๆ ได้แก่ ผ้าพื้นบ้าน ชุดผู้ไท เสื่อกก ผ้าคลุมหมอนยางพารา พวงกุญแจ ของที่ระลึกงานแต่งงาน ขนมขบเคี้ยว ข้าวไดโนเสาร์ ทุเรียนไดโนเสาร์ น้ำดื่ม เครื่องปั้นต่างๆ เป็นต้น โดยจะเริ่มทดลองวิจัยพัฒนาในปีงบประมาณ 2567 กับ กลุ่มเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์ ก่อนติดตามประเมินด้านการตลาด และขยายผลในระยะต่อไป

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม การพัฒนาสินค้าท่องเที่ยว Kalasin Geopark แบรนด์ Dino Products ที่สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์ ศาลากลางชั้น 4 โทรศัพท์ 043-816759 ในวันเวลาราชการ