• อังคาร. ต.ค. 8th, 2024

กาฬสินธุ์เร่งสูบน้ำต่อเนื่อง 24 ชม. หวังกู้ถนนสายหลักกาฬสินธุ์-ร้อยเอ็ด

กาฬสินธุ์เร่งสูบน้ำต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง หวังเปิดเส้นทางจราจรสายหลัก กาฬสินธุ์-ร้อยเอ็ด ให้เร็วที่สุด หลังน้ำชีท่วมผิวจราจรสูงกว่า 80 ซ.ม. นานเกือบ 2 สัปดาห์ ขณะที่ มูลนิธิเพชรเกษม ทำข้าวกล่องแจกชาวบ้านผู้ประสบภัยน้ำท่วม 4 ตำบล วันละ 8,000 กล่อง

(30 ต.ค. 2565) จากเหตุการณ์ พนังกั้นแม่น้ำชีแตกช่วงบ้านสะดำสี ต.ลำชี อ.ฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์ ทำให้มวลน้ำชีจำนวนมหาศาลไหลทะลักเข้าร่วมบ้านเรือนประชาชน และพื้นที่ไร่นาการเกษตร จำนวน 2 อำเภอ คือ อ.ฆ้องชัย และอ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ ได้รับผลกระทบกว่า 2,000 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรกว่า 80,000 ไร่ ได้รับความเสียหาย นอกจากนี้ มวลน้ำจำนวนดังกล่าวจังได้ไหลเอ่อเข้าท่วมทางหลักเส้นทางหลัก จ.กาฬสินธุ์-ร้อยเอ็ด ช่วงบ้านโจด หนองบัว ถึงบ้านท่ากลาง อ.กมลาไสย ระดับน้ำสูง ประมาณ 80 ซ.ม. ส่งผลให้จังหวัดกาฬสินธุ์ ต้องประกาศปิดการจราจร ช่วงบ้านโจด หนองบัว ถึงบ้านท่ากลาง อ.กมลาไสย ตั้งแต่วันที่ 21 ต.ค. 2565

นอกจากนี้ มวลน้ำที่ไหลทะลักเข้าท่วมผิวจราจร ไม่มีท่าทีจะลดลง จึงนำไปสู่การตัดพนังกั้นแม่น้ำชี ช่วงบ้านโนนเมือง ต.ดงลิง อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ เพื่อระบายน้ำออกจากนาและที่กำลังท่วมหมู่บ้านในพื้นที่ตำบลเจ้าท่า ถึงบ้านสีถาน ระยะทางเกือบ 10 กิโลเมตร และยังเป็นกระระบายระดับน้ำที่เอ่อท่วมผิวจราจรบริเวณดังกล่าว ระยะกว่า 1 กิโลเมตร

ล่าสุด นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ รอง ผวจ. รักษาราชการแทน ผวจ.กาฬสินธุ์ พร้อมด้วย ปภ.จังหวัด ลงพื้นที่เร่งแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังผิวจราจรบริเวณ บ้านโจด หนองบัว ถึงบ้านท่ากลาง อ.กมลาไสย และบริเวณพนังกั้นแม่น้ำชี บ้านแจ้งจม หมู่ 7 ต.เจ้าท่า เพื่อเร่งสูบน้ำตลอด 24 ชั่วโมง ออกจากพื้นที่ท่วมขังเพื่อเร่งกู้ถนนสายหลัก กาฬสินธุ์-ร้อยเอ็ด ให้สามารถเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด

โดยมวลน้ำได้ไหลเข้าท่วมภายในหมู่บ้าน ประชาชนต้องใช้เรือท้องแบนในการสัญจรเข้า-ออก หมู่บ้าน และบางครัวเรือน ต้องย้ายครัวเรือนไปอาศัยอยู่ภายในวัด หมู่บ้านอื่นที่น้ำท่วมไม่ถึง ซึ่งบางรายต้องย้ายสิ่งของมาอาศัยตามศาลาพักร้อนตามริมทาง

นอกจากนี้ ในช่วงน้ำท่วมหมู่บ้าน ชาวบ้านในพื้นที่ตำบล เจ้าท่า อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ ยังได้พลิกวิกฤติ เป็นโอกาส ดักจับปลาโดยการยิงซุ่มยิงปลาเพื่อนำไปเป็นอาหาร และหากดักยิงปลาได้จำนวนมาก ก็จะนำไปขายภายในหมู่บ้านเป็นการสร้างรายได้ให้กับครอบครัวอีกทาง

ขณะที่ นางสายฝน โพธิสาย อายุ 32 ปี ชาวบ้านแจ้งโจม ลูกจ้างรับจ้างปั้นอิฐ ที่โรงงานปั้นอิฐในพื้นที่ ต.เจ้าท่า ต้องขาดรายได้มาจุนเจือครอบครัว เนื่องจากโรงงานถูกน้ำท่วมไม่สามารถเปิดดำเนินกิจการต่อไปได้

ด้าน นายสหชาติ ลิ้มเจริญภักดี ประธานมูลนิธิเพชรเกษม นำบุคลากร จำนวน 52 ขีวิต ประกอบด้วยทีมเรือท้องแบน 7 ลำ รถยกสูง 4 คน ตั้งโรงครัว ที่ อบต.เจ้าท่า ร่วมกับจิตอาสาในพื้นที่ ประกอบอารหารกล่อง จำนวน 8,000 กล่อง ต่อวัน ออกแจกจ่ายให้กับประชาชนผู้ประสบภัย อำเภอกมลาไสย 3 ตำบล คือ ตำบลดงลิง ตำบลเจ้าท่า