• จันทร์. พ.ค. 6th, 2024

มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จัดประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2566 ครั้งที่ 2 ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีการพัฒนาเชิงพื้นที่ เพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน”

วันที่ 18 ธันวาคม 566 ณ ห้องประชุม อาคารสำนักงานอธิการบดีและบริหารสินทรัพย์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ นายสนั่น พงษ์อักษร ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นประธานเปิดกาประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2566 ครั้งที่ 2 ภายใต้แนวคิดนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีการพัฒนาเชิงพื้นที่ เพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน หรือ KSU SINtech 2023 for ADSCD Hybrid Conference ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมที่สำคัญคือ การบรรยายพิเศษ การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติที่ประกอบด้วยการนำเสนอในภาคบรรยาย และการนำเสนอในภาพโปสเตอร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่งานวิจัยนวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์ นักวิชาการ นักศึกษาและบุคคลทั่วไปสู่สาธารณชนทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการสร้างฐานความรู้ที่เกิดจากผลงานวิจัยนวัตกรรม และงานสร้างสรรค์ การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ สำหรับผู้เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย คณาจารย์นักวิชาการ นักศึกษา ตลอดจนผู้สนใจทั่วไปประมาณ 300 คน หน่วยงานเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ 30 หน่วยงาน โดยมีการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ จำนวน 113 ผลงาน ผลงานวิจัยระดับนานาชาติ จำนวน 59 ผลงาน

ผศ.ดร.พิมพ์ลิขิต แก้วหานาม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ตระหนักถึงความสำคัญของ ผลงานวิจัย และผลงานนวัตกรรมสร้างสรรค์ของคณาจารย์ นักวิชาการนักศึกษาและบุคคลทั่วไปซึ่งถือเป็นแหล่งข้อมูลและองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ สามารถพัฒนาและประยุกต์ใช้ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อประเทศได้ การนําเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ต่อที่ประชุมวิชาการจึงเป็นการเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณชนให้ได้รับทราบ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นร่วมกัน ระหว่างของคณาจารย์ นักวิชาการนักศึกษาและบุคคลทั่วไป ในกลุ่มสาขาวิชาเดียวกันหรือต่างสาขา อันจะนําไปสู่การพัฒนาผลงานวิจัยให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ การพัฒนาต่อยอดงานวิจัย นวัตกรรมสร้างสรรค์ พัฒนางานวิจัย ไปสู่เวทีระดับชาติและนานาชาติ ตลอดจนกระตุ้นให้เกิดการพัฒนางานวิจัยที่เข้มแข็ง ยั่งยืน และตอบสนองความต้องการของประเทศอย่างแท้จริง สำหรับงานประชุมวิชาการในครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ภายใต้แนวคิดนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีการพัฒนาเชิงพื้นที่ เพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน หรือ KSU SINtech 2023 for ADSCD Hybrid Conference ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมที่สำคัญคือ การบรรยายพิเศษ การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติที่ประกอบด้วยการนำเสนอในภาคบรรยาย และการนำเสนอในภาพโปสเตอร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่งานวิจัยนวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์ นักวิชาการนักศึกษาและบุคคลทั่วไปสู่สาธารณชนทั้งในและต่างประเทศซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการสร้างฐานความรู้ที่เกิดจากผลงานวิจัยนวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์รวมทั้งการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ สำหรับผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย คณาจารย์นักวิชาการนักศึกษาตลอดจนผู้สนใจทั่วไปประมาณ 300 คน หน่วยงานเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ 30 หน่วยงาน โดยมีการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติจำนวน 113 ผลงาน ผลงานวิจัยระดับนานาชาติจำนวน 59 ผลงาน โดยมีวิทยากรปาฐกถาพิเศษ เรื่อง การพัฒนาเชิงพื้นที่กับการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดย นายสนั่น พงษ์อักษร ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ และ เรื่อง แนวทางพัฒนาเมืองเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนยุทธศาสตร์องค์กร ด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่

รศ.จิระพันธ์ ห้วยแสน อธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558 โดยการรวมกันระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตกาฬสินธุ์ จัดเป็นมหาวิทยาลัยในกลุ่มที่ 3 โดยมีพันธกิจสำคัญคือการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น โดยตระหนักถึงความสำคัญของ ผลงานวิจัย และผลงานนวัตกรรมสร้างสรรค์ของคณาจารย์ นักวิชาการ นักศึกษาและบุคคลทั่วไป ที่สามารถพัฒนาและประยุกต์ใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่นและประเทศได้อย่างยั่งยืนตามเจตนารมณ์ของการจัดงานประชุมวิชาการในวันนี้ ดังหัวข้อ “นวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีการพัฒนาเชิงพื้นที่ เพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน” ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้จะประสบผลสำเร็จไปไม่ได้หากไม่ได้รับความร่วมมือและความช่วยเหลือจากภาคีเครือข่ายทางวิชาการของเรา ประกอบด้วย
1. มหาวิทยาลัยนครพนม
2. สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3
3. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
4. คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
5. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
6. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
7. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
8. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
9. มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
10. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
11. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
12. สถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
13. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
14. วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
15. มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
16. คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
17. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดเขตสกลนคร
และเครือข่ายมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ
1. An Giang University
2. Guiyang University
3. Universitas Pekalongan
4. University of Economics, Hue University
5. Hue University of Foreign Languages and International Studies
6. Souphanouvong University
7. Guangxi Minzu University
8. Northern Agriculture and Forestry College, Luang Prebang
อีกทั้งยังมีหน่วยงานเครือข่ายในจังหวัดกาฬสินธุ์ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ให้การสนับสนุนการจัดงานครั้งนี้เป็นอย่างดี นับเป็นความกรุณาอย่างยิ่งที่กระผมในนามตัวแทนของมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์และคณะผู้ร่วมจัดการประชุมวิชาการ ได้ต้อนรับผู้บริหาร นักวิชาการทุกท่าน ที่ได้เดินทางมาเข้าร่วมงานเลี้ยงในวันนี้ และหวังว่าท่านจะได้รับความสุขและความปราณาดีจากเราชาวมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ และกระผมยังหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการเดินทางเข้ามาร่วมการประชุมวิชาการของท่านในวันนี้ จะสร้างไมตรีจิตและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดีต่อกันในอนาคต

ด้านนายสนั่น พงษ์อักษร ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2566 ครั้งที่ 2 ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีการพัฒนาเชิงพื้นที่ เพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน” เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานวิจัยและแลกเปลี่ยนความรู้ในสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสายสังคมศาสตร์ ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายด้านวิชาการระหว่างนักศึกษา นักวิชาการ หลักสูตรและหน่วยงานในสาขาที่เกี่ยวข้อง มีการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อพัฒนาคุณภาพด้านวิจัยในสาขาต่าง ๆ โดยเป็นการประสานความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์และหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดเป็นเวทีวิชาการระดับชาติและนานาชาติที่รวบรวมผลงานทางวิจัยอันทรงคุณค่า และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์จากงานวิจัยในวงกว้าง เป็นฐานในการคิดอย่างสร้างสรรค์ที่จะส่งผลต่อการสร้าง การเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศต่อไป

ตระกูล ภูพวงเพชร /รายงาน
www.kalasinnews.com