วันที่ 27 มิ.ย. 2566 นายวัชรินทร์ เขจรวงศ์ อดีตเกษตรอำเภอ มิตรแท้ของเกษตรกร ประธานกลุ่มรวมพลคนโคกหนองนาอำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า ตนเองเคยปฏิบัติราชการในตำแหน่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ที่ฝ่ายป้องกันและกำจัดศัตรูพืช หรือ กลุ่มอารักขาพืช ในปัจจุบัน กรมส่งเสริมการเกษตร เคยต่อสู้กับตั๊กแตนปาทังก้า “ศัตรูหมายเลขหนึ่งของเกษตรกร” ผู้ปลูกพืชไร่ ข้าวโพด อ้อย รัฐบบาลในอดีต ต้องตั้งศูนย์เฉพาะกิจในการป้องกันและปราบปราม “ตั๊กแตนปาทังก้า” ปัจจุบันตั๊กแตนปาทังก้า กลับมาเป็น “แมลงเศรษฐกิจ” ไปแล้ว สังคมเปลี่ยน วิชาการเปลี่ยนแลง มากมาย ดั่งเช่นการปลูกข้าวสมัยผมเรียน ที่โรงเรียนเกษตรกรรม อาจารย์จบจากประเทศฟิลิปปินส์ จบกจาก มิสซิปซิปปี้ USA เรื่องข้าวโดยตรง การเรียนการสอนเป็นไปอย่างเข้มข้นของวิชาการเรื่อง ข้าว ปลูกเป็นแถวเป็นแนว แต่ปัจจุบัน เกษตรกรหรือชาวนา หว่านข้าวใส่หญ้า แล้วไถพรวน หรือที่ชาวนาเรียกว่า “ผายข้าว” หรือหว่านข้าวแห้งคอยฝน ทั้งให้ผลผลิตสูง ลดต้นทุนการผลิต นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร มองหน้ากัน อยากกลับไปเรียนเกษตรใหม่
คุณนิพล ประทุม เป็นชาวบ้านโพนทอง หรือบ้านหามแห-โพนทอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ โทร.062 3708195 /080 7553288 / 098 8941099 ตั้งที่ สี่แยกข้างโรงเรียนบ้านหามแหโพนทอง จับแมลงศัตรูพืชหมายเลขหนึ่งของเกษตรกรเพาะขยายพันธุ์แบบง่ายขยายตัวรวดเร็วมาก ขายไข่ถาดละ 500 -1,000 บาท ขายตัว ขายตัวตั๊กแตน สร้างกิโลกรัม 500 บาท ทอดขายขีดละ 100 บาท งานง่ายๆ 30 วันจับขายได้แล้ว
คุณนิพล ประทุม กล่าวว่า ผมทำงานอาชีพค้าขาย ในตลาดโรงสี ทางเข้าเมืองกาฬสินธุ์ แบบซื้อมาขายไปแปรรูปผลผลิต ขั้นแตอนการเลี้ยงตั๊กแตนงานที่ง่ายที่สุด อันดับแรกต้องทำ “มุ้งด้วยไนล่อนขาว” อันที่จริงตาข่ายสีฟ้าก็สามารถทำได้ ยกพื้นสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร มีขนาดความกว้าง 1X 2 เมตร สูง 1 เมตร นำถาดไข่วางไว้ 1-2 ถาด 8,000- 10,000 ฟอง ชอบที่สุดของการเลี้ยงตั๊กแตนคือ “กลางแจ้ง” แต่เวลาฝนตกมีพลาสติกคุมหลังคาให้ด้วย 7-10 วัน ลูกตั๊กแตนจะออกจากไข่ ตัวขนาดเล็กจำนวนมาก อาหารที่เป็นหญ้าสด ชอบมากที่สุดคือ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้าธรรมชาติ ในกล้วย ใบอ้อย ตัดให้กิน อายุ 15 วัน สวมเสื้อกั๊ก เริ่มตั้งแต่การอนุบาลไข่ ตั๊กแตนฟักออกมาจนเก็บไข่ขายได้ก็ใช้เวลาอยู่ที่ประมาณ 40-45 วัน ขึ้นอยู่ตามฤดูกาล ฤดูร้อน ยิ่งร้อนยิ่งเจริญเติบโตได้ดี ตั๊กแตนไม่ชอบอากาศเย็นและฤดูฝน
ไข่ตั๊กแตน สำหรับไปขยายพันธุ์ต่อ “ตั๊กแตนฟักไข่ออกมา 7- 10 วัน ไข่จะฟักตัวออกมา ฤดูหนาว 15-17 วัน ไข่ จะฟักตัวออกเป็นตัว หลังจากนั้นพอฟักออกเป็นตัวแล้ว อายุ 32 วัน ตั๊กแตนจะเริ่มผสมพันธุ์กัน เตรียมขันทรายสำหรับวางไข่ ในระยะเวลาที่ 1-32 ตั๊กแตนปาทังก้า จะลอกคราบประมาณ 4-5 ครั้ง พอผสมพันธุ์กันวันที่ 32 นับไปอีก 5-7 วัน ตั๊กแตนจะเริ่มวางไข่ ก็ประมาณ 37-40 วัน ก็เริ่มเก็บไข่ เก็บได้ประมาณ 3 รอบ สมมุติวันที่ 40 เก็บไข่รอบแรก แล้วนับไปอีก 4 วัน เก็บไข่รอบที่ 2 แล้วนับไปอีก 4 วัน เก็บไข่รอบที่ 3 หลังเก็บไข่ครบทั้ง 3 รอบ เราจะเก็บตั๊กแตนชุดเก่าไปขายกิโลกรัมละ 400-500 บาท ไว้สำหรับทอดกิน” รายได้ตลอดขายไข่ ขายตัวตั๊กแตน
ตั๊กแตนปาทังก้า เป็นแมลงศัตรูพืชการเลี้ยงตาข่ายต้องปลอดภัย มุ้งรอบขอบชิด โรงเรือน ที่ใช้เลี้ยงตั๊กแตน จะเป็นแบบหลังคาจะต้องมุงด้วยพลาสติกใส เนื่องจากตั๊กแตนชอบแดด ส่วนด้านข้างและด้านในของโรงเรือนแนะนำให้ใช้เป็นมุ้งตาข่ายในล่อนกันแมลงสีขาวจะดีมากมองเห็น ทนทาน ป้องกันตั๊กแตนหรือสัตว์ชนิดอื่นกัดขาดได้ หรือ ฤดูฝนต้องหาที่พลางแสงกันน้ำฝนสาด ตั๊กแตนแพ้น้ำทำให้เสียชีวิตได้ ปริมาณการให้อาหารต่อวัน ปริมาณไข่ที่นำเพาะขยายพันธุ์จำนวน 7-10 ขีด ให้อาหารวันละ 2 มื้อ เช้า-เย็น มื้อละ 5-7 กิโลกรัม รวมปริมาณวันละ 12-15 กิโลกรัม/วัน ไม่แน่นอน ต้องสังเกตที่ฤดูด้วยว่าเป็นฤดูกาลใด เช่นฤดูหนาวตั๊กแตนจะโตช้า กินอาหารได้ไม่มาก ฤดูร้อนตั๊กแตนจะกินได้ดี เจริญเติบโตดี
ศัตรูหลักๆ ของตั๊กแตนได้แก่ มด เพราะฉะนั้นตั้งแต่แรกเกิดจนถึงเก็บผลผลิต หมั่นตรวจสอบทุกระยะ การป้องกันหรือรักษา กำจัดที่ต้นตอคือรังมด หรือขาตั้งมุ้งตั๊กแตนปาทังก้าต้องมีน้ำรอบขา ป้องกันมด อันดับแรกตนเองขายไข่ตั๊กแตน ราคาค่อนข้างสูงมาก 5,000-10,000 บาท/ก.ก. ตัวตั๊กแตน 450-500 บาท/ก.ก. มีไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ทอดขายขีดละ 100 บาท
คุณนิพล ประทุม กล่าวอีกว่า ผมยืนดูตั๊กแตนปาทังก้า เขากินใบหญ้ายุบยับ ๆ ทั้งถ่ายมูล ทั้งกิน ปริมาณมากๆ จริงๆ เจ้าคือศัตรูพืช ห้ามหลุดออกมาก็แล้วกัน กลายเป็นศัตรูพืชร้ายแรงทันที่ หากเจ้าตั๊กแตนปาทังก้า อยู่ในทุ้ง 30-40 วัน เจ้าเป็นแมลงเศรษฐกิจ
ตั๊กแตนปาทังก้า (Bombay locust) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Patanga succinta (Linn.) วงศ์ : Acridiaeอันดับ : Orthoptera
ลักษณะของตั๊กแตนปาทังก้า ตัวอ่อน จะมีสีเขียว เหลือง แต่เมื่อเป็นตัวแก่จะมีสีน้ำตาลอ่อน สีน้ำตาลเข้ม ระยะตัวอ่อนประมาณ 56 วัน ตัวเต็มวัย มีขนาดรูปร่างโต ขนาดลำตัวยาว 6-8 ซม. ตัวผู้เล็กกว่าตัวเมีย ในขณะที่บินจะเห็นปีกคู่ในเป็นสีชมพู
ตั๊กแตนปาทังกา P. succincta (Linnaeus) เป็นตั๊กแตนขนาดใหญ่ ลำตัวยาว 60-80 มิลลิเมตร รูปหน้ายาว และส่วนของริมฝีปากบนใหญ่ ตาโตรูปไข่ ลักษณะเด่นชัด คือ ที่แก้มทั้ง 2 ข้าง มีแถบสีดำ พาดจากขอบตารวมด้านล่างถึงปาก ส่วนอกตรงกลางจะคอดเข้าเล็กน้อย ด้านข้างอกทั้ง 2 ด้าน มีแถบสีน้ำตาลดำ พาดเป็นทางยาว ต่อไปยังปีกหน้าจนถึงปลายปีก 1-2 แถบ ด้านหลังมีแถบสีเหลืองอ่อน พาดจากส่วนหัวจนถึงปลายปีก ปีกยาวคลุมปิดปลายปล้องท้อง
เมื่อกางปีกออก จะเห็นบริเวณโคนปีกคู่ที่ 2 เป็นสีชมพูอ่อน ปีกและลำตัวมีสีน้ำตาลแดง ขาเรียวยาว ครีบหางลักษณะคล้ายกรวย ตัวผู้เล็กเรียวกว่าตัวเมีย ระยะเป็นตัวอ่อน มีสีเขียว สีเหลือง แต่เมื่อเป็นตัวเต็มวัยจะมีสีน้ำตาลอ่อน หรือสีน้ำตาลเข้ม ตัวเต็มวัยผสมพันธุ์ประมาณเดือนเมษายน วางไข่ในดิน 1-3 ฝัก 1 ฝักมีไข่ 96-152 ฟอง
ไข่มีอายุ 35-41 วัน ฟักออกมาเป็นตัวอ่อนประมาณปลายเดือนพฤษภาคมหรือต้นเดือนมิถุนายน ตัวอ่อนมีการลอกคราบ 7-8 ครั้ง ระยะตัวอ่อน 56-81 วัน อายุตัวเต็มวัย 8-9 เดือน ชั่วอายุขัย 1 รุ่นใน 1 ปี พบทั่วไปในป่าต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณที่มีการปลูกพืชไร่ ในฤดูแล้งจะพักตัว (ธันวาคม-มีนาคม) และเกาะนิ่งตามหญ้า ไม่กินอาหาร เมื่อถึงเดือนเมษายนจะเริ่มผสมพันธุ์และขยายพันธุ์ต่อไป
ลักษณะการทำลาย
ตั้งแตนตั้งแต่วัย 4-ตัวเต็มวัย จะกัดกินใบข้าวโพดและต้นข้าวโพด ตั้งแต่เริ่มงอกจนออกดอกและติดฝัก โดยเฉพาะข้าวโพดที่มีอายุระหว่าง 40-55 วัน เป็นช่วงอันตรายที่สุดหากถูกกัดกินจนได้รับความเสียหายจะมีผลกระทบต่อผลผลิต เพราะช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่กำลังสร้างเมล็ด ซึ่งจะทำให้การติดเมล็ดลดลงและเมล็ดลีบ
พืชอาหาร มีประมาณ 34 ชนิด ได้แก่ข้าวโพด กล้วย ส้ม อ้อย ข้าวฟ่าง ใบมะพร้าว ปาล์มน้ำมัน ข้าว ถั่วเหลือง เป็นต้น
การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด
พบแพร่กระจายอยู่ทั่วไปเกือบทุกภาค พบมากตามพื้นที่ปลูกข้าวโพด โดยเฉพาะบริเวณที่ทำการบุกเบิกใหม่ หรือพื้นที่ที่เคยมีการระบาดของตั๊กแตนชนิดนี้ สำหรับช่วงที่พบระบาดจะอยู่ในช่วงฤดูแล้ง (กุมภาพันธ์-เมษายน) ช่วงตัวอ่อน มิถุนายน-กรกฎาคม และช่วงตัวเต็มวัย (สิงหาคม-ตุลาคม)
วัชรินทร์ เขจรวงศ์/รายงาน