• อังคาร. ก.ย. 17th, 2024

AIS ผนึกกำลังมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จัดกิจกรรม ปักหมุดจุดทิ้งขยะ E-Waste ชวนบุคลากรและนักศึกษามีส่วนร่วมจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน กับ แพลตฟอร์ม E-Waste +

AIS เดินหน้านำ แพลตฟอร์ม E-Waste + ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  มุ่งสร้างความมีส่วนร่วมจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลแบบ Zero Landfill ตามมาตรฐานสากล แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมร่วมกันอย่างยั่งยืน ผ่านกิจกรรม ปักหมุดจุดทิ้งขยะ E-Waste ชวนบุคลากรและนักศึกษา มาทิ้ง E-Waste กว่า 30 จุด ในเขตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

นายสมชาย นาคราช หัวหน้าแผนกงานปฏิบัติการด้านเทคนิค-ภาคะวันออกเฉียงเหนือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS กล่าวว่า “ AIS นอกเหนือจากการมุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้น เรายังให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และในปี 2566 นี้ AIS ก้าวเข้าสู่การเป็น Cognitive Tech-co องค์กรอัจฉริยะ จึงได้ยกระดับระบบการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ สู่การเปิดตัว “แอปพลิเคชัน E-waste+” เป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่นำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง เพื่อสร้างความมั่นใจในระบบการจัดการขยะที่สามารถติดตาม แสดงผลอย่างเรียลไทม์ และส่งเสริมสร้างแรงจูงใจกับผู้ทิ้งขยะ ได้รับ Carbon Score อีกด้วย และในครั้งนี้ AIS จับมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งเป็นพาร์ตเนอร์ (Green Partnership) ในโครงการคนไทยไร้ E-Waste  ตั้งแต่ปี 2563 ที่ผ่านมา ที่จะมาผนึกกำลังขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาขยะอย่างยั่งยืนร่วมกันในครั้งนี้

ด้าน ผศ.ดร.อัจฉราวรรณ บุรีภักดี รองอธิการบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคลและบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กล่าวว่า “ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง ตามประกาศเจตนารมณ์เพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SUT SDGs) 10 เป้าหมายของสหประชาชาติ  และได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 1 ของประเทศ ด้านการจัดการของเสีย (Waste) และเป็นอันดับที่ 3 ของมหาวิทยาลัยไทย จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวโลกปี ค.ศ. 2022 หรือ                     UI GreenMetric World University Ranking 2022 และเป็นอันดับที่ 61 ของโลก ร่วมกับมหาวิทยาลัย 8 แห่ง จากมหาวิทยาลัยทั่วโลก 1,050 แห่ง นั้น กิจกรรมปักหมุด จุดทิ้งขยะ E-Waste ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ตอบสนองการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG 12 ด้านการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน และส่งเสริมการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวโลกของมหาวิทยาลัยให้มีอันดับที่ดีขึ้น อีกทั้งยังเป็นการสร้างความร่วมมือกับเอกชนในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการขยะ ผ่าน application E-Wasteได้อย่างมีประสิทธิภาพ     ทำให้สามารถติดตามเส้นทางเดินของขยะ E-Waste จากต้นทางถึงปลายทาง ตลอดจนสามารถ นำผล Carbon Score ที่ได้รับจากการทิ้งขยะ E-Waste ไปแลกคะแนนจิตอาสากับงานทุน  ส่วนกิจการนักศึกษาได้ ซึ่งเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ทิ้ง และเกิดความยั่งยืนต่อไป

และสำหรับองค์กรใดสนใจใช้งาน แพลตฟอร์ม E-Waste+ เข้าร่วมเป็นเครือข่าย Green Partnership สามารถติดต่อได้ที่ e-mail: aissustainability@ais.co.th หรือติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง https://ewastethailand.com/ewasteplus

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

AIS ชู Secure Net+ Protected by MSIG บริการป้องกันการเข้าถึงเว็บไซต์หลอกลวง พร้อมแถมประกันภัยเพอร์ซัลนัลไซเบอร์จาก MSIG อุ่นใจ ปลอดภัย จากมิจฉาชีพ คุ้มครองสูงสุด 50,000 บาท
AIS เปิดผลดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย Thailand Cyber Wellness Index 2024 ชี้คนไทยเกินครึ่งขาดทักษะความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พร้อมเปิดตัวเครื่องมือเช็กภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ Digital Health Check ครั้งแรกในไทย
AIS ผสานความร่วมมือ Oracle เปิด Hyperscale Cloud ครั้งแรกในไทย ชู AIS Cloud พร้อมยกระดับบริการคลาวด์ สู่การทรานสฟอร์มขององค์กรธุรกิจ ย้ำทุกบริการเป็นไปตามข้อกำหนดการจัดเก็บ และป้องกันข้อมูล