• พุธ. ธ.ค. 11th, 2024

ขอแรงชาวกาฬสินธุ์ ร่วมกดไลท์กดแชร์ คลิปวิดีโอสั้น เรื่องนี้ดีต่อใจ ผลงานเด็กอนุกูลนารี

กดแชร์ ได้ 2 คะแนน กด Like Love Wow ได้ 1 คะแนน ขอเชิญชวนและขอแรงเชียร์ชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ ร่วมกันสนับสนุนและส่งเสริมผลงานคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนอนุกูลนารี ที่ผลิตคลิปวิดีโอสั้น ในหัวข้อ BCG Happy Story : เรื่องนี้ดีต่อใจ เข้าประกวด ที่จัดโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และหน่วยงานพันธมิตรโดยเชิญชวนให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่สนใจเข้าร่วมประกวด ความยาว 30-60 วินาที เพื่อสื่อสารความเข้าสำคัญและร่วมแบ่งปันการใช้ชีวิตตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG

โดยการจัดการแข่งขันรายการนี้แบ่งเป็น 2 รอบ

  • รอบที่ 1 ส่งเอกสารแนวคิดของสื่อที่จะผลิต เนื้อหาที่จะถ่ายทอด และเทคนิคที่จะใช้ในการผลิตสื่อ รวมไปถึงสตอรี่บอร์ด จากนั้น คณะกรรมจะคัดเลือกผลงาน 20 ทีม จากการส่งเข้าแข่งขันรอบที่ 1 พร้อมมอบเงินทุนในการพัฒนาสื่อจำนวน 10,000 บาท เพื่อจัดทำผลงานและส่งแข่งขันในรอบ 2
  • รอบที่ 2 คณะกรรมการนำผลงานทั้ง 20 ทีม มาตัดสินเพื่อหาผู้ที่จะได้รับรางวัล ชนะเลิศ, รองชนะเลิศอันดับ 1, รองชนะเลิศอันดับ 2, รางวัลชมเชย และรางวัล Popular Vote

ผลงานของนักเรียนโรงเรียนอนุกูลนารี

– คลิปผลงาน : https://fb.watch/eVSbUOQFHu/
ขอเชิญชวนเพื่อนพี่น้องชาวกาฬสินธุ์ ช่วยกดไลด์ กดแชร์ เพื่อชิงรางวัล Popular Vote และเป็นกำลังใจให้กับลูก ๆ นักเรียนโรงเรียนอนุกูลนารี ด้วยกัน

รายละเอียดผลงาน
โดยผลงานของโรงเรียนอนุกูลนารี ได้ผ่านเข้ารอบที่ 1 และกำลังแข่งขันในรอบที่ 2 โดยมีคอนเซ็ปในการนำเสนอดังนี้

โรงเรียนอนุกูลนารีได้นำเสนอการผลิตข้าวโดยนำโมลเดลเศรษฐกิจ BCG มาปรับใช้ โดยถ่ายทอดออกมาเป็นบทเพลงหมอลำอีสาน เรียกว่า กลอนลำเต้ย สาเหตุที่เลือกใช้หมอลำ เนื่องจากเกษตรกรชาวอีสาน ชอบฟังเพลงหมอลำเป็นประจำ พวกเราจึงนำมาถ่ายทอดเพื่อให้เกษตรกร ได้ตระหนักการนำโมเดล BCG ไปปรับใช้ และให้ความรู้กลอนลำที่สนุกสนาน ผสมผสานความชอบของชาวอีสาน จึงเกิดเป็นขบวนร้องรำทำเพลง อย่างสนุกสนาน มีการฟ้อนรำ มีการร้อง และมีการเต้น เป็นดั่งขบวนเชิดชู BCG Economy model ที่นำมาปรับใช้จนเกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างมากมาย

โดยมีการกล่าวเชิญชวนชาวไทย มารับชมรับฟังการผลิตข้าวโดยใช้ BCG ซึ่งประเทศไทยนั้น เป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ และความหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งชาวนาจะต้องเป็นนวัตกร คือคนที่ใช้นวัตกรรมผสมผสานกับภูมิปัญญา โดยนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาปรับใช้ เพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ ทำน้อยแต่ได้มาก ยกตัวอย่างคือ การพัฒนาพันธุ์ข้าว ให้ทนต่อโรค ทนต่อทุกสภาพอากาศ ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง เพื่อยกระดับราคาข้าวให้สูงขึ้น

โดยจะต้องนำทุกส่วนของข้าวมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ลดการสูญเสีย ยกตัวอย่างเช่น นำแกลบที่ได้จากการสีข้าวไปผลิตเป็นไฟฟ้า นำฟางข้าวไปทำเป็นปุ๋ย นำรำไปเป็นอาหารสัตว์ ใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด

และในกระบวนการผลิตทั้งหมดจะต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และจะต้องนึกถึงความยั่งยื่น เช่น ลดการเผาไหม้ ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซเรือนกระจก และอื่น ๆ ที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม หากเรานำ BCG economy model มาใช้ ประเทศไทยก็จะเกิดความ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และมีความเจริญรุ่งเรืองในด้านเศรษฐกิจต่อไป

ตระกูล ภูพวงเพชร /รายงาน
www.kalasinnews.com